ครบเครื่องเรื่องการบริการ
รับออกแบบ ตกแต่ง สร้าง ต่อเติม บ้าน อาคาร สำนักงาน โรงงาน โกดัง โรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร รับงาน โครงหลังคาโรงงาน โครงหลังคาเมทัลชีท โครงหลังคาเหล็กทุกชนิด
วางแผน ออกแบบ การก่อสร้าง และการใช้งานอย่างถูกหลักการทางทฤษฎี ก่อนที่จะนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
รับตกแต่งภายใน – ภายนอก งานกระจกอลูมิเนียม งานอลูมิเนียมคอมโพสิต งานบิ้วอิน
งานออกแบบ เขียนแบบ ยื่นขออนุญาตก่อสร้าง
การออกแบบ
หากท่านต้องการให้ทางบริษัทฯทำการออกแบบบ้านใหม่ ท่านสามารถแจ้งวัตถุประสงค์หรือร่างแบบคร่าวๆได้ เพื่อบริษัทจะดำเนินการทำแบบร่าง และราคาเสนอต่อท่านโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เมื่อทำการตัดสินใจในการออกแบบอย่างละเอียดต่อไป จึงจะมีการเซ็นสัญญากัน
ขั้นตอนการออกแบบ-เขียนแบบสถาปัตย์ เบื้องต้นมีดังต่อไปนี้
ขั้นการให้คำปรึกษาและขอข้อมูลสำหรับการออกแบบของโครงการจากเจ้าของโครงการ เพื่อทำการสรุป ความต้องการขั้นต้น ของลูกค้า หรือ เจ้าของโครงการ
1.1 รับข้อมูล วัตถุประสงค์ และความต้องการของผู้ว่าจ้าง ข้อมูลที่จำเป็นต่อการขอคำปรึกษาจากนักออกแบบตกแต่งภายในได้แก่
1.1.1. ขนาด ที่ตั้งและรูปร่างของโครงการหรืออาคารที่จะทำการตกแต่ง
1.1.2. งบประมาณที่ได้ตั้งใจไว้
1.1.3. รูปแบบหรือ Style ที่ชอบเป็นพิเศษ
1.1.4. ความต้องการหรือประโยชน์ใช้สอยที่ต้องการจากพื้นที่นั้นๆ
1.1.5. ข้อจำกัดต่างๆ ในงานออกแบบ (ถ้ามี) และ
1.1.6. ของประดับใดหรือสีใดที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ และต้องการให้มีในงานออกแบบ (ถ้ามี)
1.2 เสนอแนวความคิดในการออกแบบ ( Prelininaly Concept )
สถาปนิก จะทำการวางแนวความคิดในการออกแบบคร่าวๆให้กับลูกค้าทำการ พิจารณา รูปแบบการออกแบบ (Style) รวมทั้งแบ่งพื้นที่ ใช้สอยคร่าวๆ (Zoning) หรือวางผังพื้นที่ใช้สอย อย่างง่ายๆ (Lay-out Plan) เพื่อให้ลูกค้าทำการพิจารณา การแบ่งพื้นที่ทั้งหมดว่าตรงกับความต้องการใช้งานจริง ของลูกค้าหรือไม่
สถาปนิก จะนำแนวความคิดในการออกแบบ และผังพื้นที่ในการใช้สอย ที่ได้ผ่านการอนุมัติ จากลูกค้าแล้วมาพัฒนาเป็น แบบร่างอย่างง่ายๆ เพื่อให้ ลูกค้าเกิดจินตภาพ ได้ว่างานออกแบบทั้งหมด จะออกมาเป็นอย่างไร โดยสถาปนิกจะทำการนำเสนอเป็นภาพ Sketch หรือ Perspective หรือ Model ก็ได้
2.1 แบบร่างขั้นต้นแสดงถึงการใช้สอยพื้นที่ในอาคาร ( Layout Plans )
2.2 รูปทัศนียภาพ ขาว-ดำ ( Black White Perspective Sketch )
2.3 การเสนองบประมาณค่าใช้จ่าย ( Preliminary Budget )
3.1 แบบแปลนการจัดห้อง และพื้นที่ใช้สอยต่าง ( Layout Plans )
3.2 รูปทัศนียภาพ สี ขาว-ดำ ( Color or Black White Perspective Views )
3.3 รูปด้าน ( Elevation Drawings )
3.4 ตัวอย่างการใช้สี และวัสดุอุปกรณ์ ( Material Board )
3.5 แบบจำลอง ( Model )

เตรียมพื้นที่
– เตรียมพื้นที่สำหรับการก่อสร้าง
– ผู้รับเหมาเคลียร์พื้นที่หน้างาน
– ขนย้ายเครี่องมืออุปกรณ์ต่างๆเข้าพื้นที่
– เตรียมสถานที่ ที่พักคนงาน
– รื้อบ้าน หรือขอน้ำหรือไฟฟ้าชั่วคราวเพื่อใช้งาน
– ทั้งนี้การเตรียมพื้นที่ ต้องมีการถมดินเพื่อปรับระดับ แล้วสร้างรากฐานความมั่นคงให้กับ- – อาคารหลังนั้นๆ การถมที่ดินมี 2 สิ่งที่ควรคำนึง คือ ตรวจสอบประวัติการเกิดอุทกภัย – – เพื่อประมาณการความสูงในการถมดิน
– ตรวจสอบระดับดินบริเวณข้างเคียง และถนน ส่วนมากจะถมให้สูงกว่าถนนหน้าบานประมาณ 50-80 เซนติเมตร

ขั้นตอนงานวางผังอาคาร
– ผู้รับเหมาทำการวางผังแนวอาคาร
– กำหนดตำแหน่งลงเสาเข็มต่างๆ โดยอ้างอิงจากแบบแปลน สามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพบเจออุปสรรค เช่น แนวต้นไม้ใหญ่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมตามหน้างาน

งานขุดเจาะเสาเข็ม
– เลือกประเภทเสาเข็มที่เหมาะสม เช่น เสาเข็มตอก เสาเข็มเจาะ
– ตรวจสอบคุณภาพเสาเข็ม สามารถรับน้ำหนักได้ตามมาตรฐาน
– ขุดเจาะ กดหรือตอกเสาเข็มตามตำแหน่งที่กำหนด
– ตัดหัวเสาเข็มเพื่อเตรียมหล่อฐานราก

งานฐานรากโครงสร้างชั้นล่าง
– โครงสร้างฐานราก ประกอบด้วย ฐานรากและเสาตอม่อ
– ขึ้นโครงสร้างชั้นที่ 1 ประกอบด้วย คานคอดิน, เสา, คาน, พื้นชั้นล่าง
– เตรียมขุดดิน เพื่อเตรียมโครงสร้างงานระบบสุขาภิบาลรอบบ้าน เช่น บ่อพัก Manhole ระบบท่อน้ำทิ้ง ท่อประปา

งานโครงสร้างชั้นบน โครงหลังคา และวางระบบสุขาภิบาล
– ผู้รับเหมาจะขึ้นโครงสร้างเสา คาน อเส(ส่วนประกอบของโครงสร้างหลังคา)
– ติดตั้งถังบำบัดน้ำเสียและถังเก็บน้ำใต้ดินปา

งานมุงหลังคา โครงสร้างบันได งานหล่อชิ้นส่วนต่างๆ
– เริ่มติดตั้งวัสดุมุงหลังคา เพื่อลดอุปสรรคจากลมฟ้าอากาศในการทำงาน
– เริ่มหล่อโครงสร้างบันไดคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือติดตั้งบันไดเหล็กตามที่แบบระบุ
– เก็บงานโครงสร้างในส่วนอื่นๆ ให้พร้อมก่อนเริ่มงานก่อผนังและติดตั้งวัสดุปิดผิว

ก่อผนัง ติดตั้ง เตรียมงานระบบไฟฟ้า-ประปา
– ก่อผนัง และหล่อเสาเอ็น – คานเอ็น (ขึ้นอยู่กับแต่ละบ้านจะเลือกใช้ผนังแบบใด)
– ผู้รับเหมาทำการเดินท่อระบบไฟฟ้า-ประปา ที่ต้องฝังในผนัง และติดตั้งวงกบไม้ประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย

งานฉาบผนัง และติดตั้งฝ้าเพดาน
– ฉาบผนังให้เรียบและสม่ำเสมอ ด้วยการ จับปุ่ม จับเซี้ยม หรืออาจขึงลวดกรงไก่
– ผนังเบาจะต้องฉาบเก็บรอยต่อระหว่างแผ่นผนังให้เรียบเนียน
– กำหนดความสูงของฝ้าเพดานทั้งภายใน ภายนอกและฝ้าชายคา โดยติดตั้งโครงฝ้าและปิดด้วยวัสดุฝ้าเพดาน
– ติดตั้งระบบไฟฟ้า โคมไฟ และช่องเซอร์วิสไปพร้อมกัน

งานติดตั้งประตู-หน้าต่าง รวมถึงวัสดุตกแต่ง พื้น-ผนัง และงาน Build-in
– วัสดุตกแต่งผนังและพื้น
– วัสดุพื้นผิวผนัง เช่น ทาสี ฉาบสกิมโค้ท ปูกระเบื้องเซรามิก ติดวอลล์เปเปอร์
– วัสดุพื้น เช่น หินขัด กรวดล้าง/ทรายล้าง ปูกระเบื้องเซรามิก ไม้ปาร์เกต์ ไม้ลามิเนต เป็นต้น
– ระบบแสงสว่างและติดตั้งดวงโคม
– ติดตั้งบานประตู หน้าต่างไม้ ชุดประตู-หน้าต่างไวนิล/อะลูมิเนียม
– งาน Build-in เช่น ตู้เสื้อผ้า ชั้นวางของ เคาน์เตอร์ครัว เป็นต้น
– ติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ สุขภัณฑ์ในห้องน้ำ และอุปกรณ์เครื่องครัว
– ก่อนการทาสี ควรป้องกันการเลอะเทอะ และปกป้องพื้นผิว ด้วยการห่อหุ้มอุปกรณ์ต่างๆด้วยกระดาษหรือแผ่นพลาสติกก่อน

ทำความสะอาด และตรวจความเรียบร้อย
– ตรวจสอบระบบต่างๆก่อนส่งมอบงาน
การวางแผน

เรามีประสบการณ์การทำงานที่ชำนาญ ดังนั้นเราจึงเข้าใจกระบวนการทำงานตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น ถึงการส่งมอบงานให้ลูกค้า เรามีการวางแผนภายในทีมอย่างครบถ้วนทุกกระบวนการ และนำโปรแกรมเทคโนโลยีใหม่ๆมา เพื่อช่วยในการวางแผนให้ได้แบบที่ทันสมัยและสามารถเข้าใจลูกค้ามากที่สุด และสามารถผลิตผลงานออกมาให้ลูกค้าเห็นภาพได้ชัดเจนอีกด้วย ดังนั้นการวางแผนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้งานบรรลุวัตถุประสงค์และออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
เพราะเราเชื่อว่าทุกๆ รายละเอียดล้วนมีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจของคุณ พวกเราจึงใส่ความพิถีพิถันลงไปในทุกๆ ขั้นตอน ตั้งแต่การคัดสรรทำเลที่ตั้ง ขนาดที่ดิน ออกแบบอาคาร การถ่ายเทอากาศ จนไปถึงจำนวนขั้นบันได ทั้งหมดนี้พวกเราเชื่อว่า PUTTA ARHITECT จะสามารถเป็น ส่วนประกอบสำคัญในความสำเร็จของคุณอย่างแน่นอน
การก่อสร้าง

ทีมงานก่อสร้างของเราเป็นทีมงานคุณภาพ มีประสบการณ์การทำงานไม่ต่ำกว่า10ปี เข้าใจระบบโครงสร้างเป็นอย่างดี ดูแลและตรวจสอบการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ